คำแนะนำการส่งต้นฉบับบทความเพื่อตีพิมพ์

การส่งต้นฉบับบทความ

     วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหงรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยต้นฉบับบทความควรมีความยาวไม่เกิน 20 หน้า A4

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน (Instructions for Authors)

1. กำหนดขอบหน้ากระดาษ ซ้ายและบน 1.25 นิ้ว ขวาและล่าง 1 นิ้ว

2. ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK และใช้ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า (Single space) ตลอดทั้งบทความ

3. ชื่อบทความต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยจัดกึ่งกลาง ใช้ขนาดตัวอักษร 24 Points จัดตัวหนา โดยบรรทัดแรกเป็นชื่อบทความภาษาไทยและบรรทัดที่สองเป็นชื่อบทความภาษาอังกฤษ (กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น 0 Point)

4. ชื่อผู้แต่งต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยจัดชิดขวา ขนาดตัวอักษร 20 Points จัดตัวหนาและเอียง โดยบรรทัดแรกเป็นชื่อผู้แต่งภาษาไทยและบรรทัดที่สองเป็นชื่อผู้แต่งภาษาอังกฤษ (กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น 0 Point)

5. ให้เพิ่มข้อความเชิงอรรถ (Footnote) หลังชื่อผู้แต่งทุกคน โดยระบุ 1) หน่วยงานของผู้แต่ง และ 2) อีเมล์ของผู้แต่ง ใช้ขนาดตัวอักษร 14 Points

ตัวอย่าง 1 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง E-mail address: econram@ru.ac.th

6. บทคัดย่อต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำว่า บทคัดย่อและ Abstract ให้จัดชิดซ้าย ใช้ขนาดตัวอักษร 18 Points ตัวหนา

7. ข้อความของบทคัดย่อและ Abstract ใช้ขนาดตัวอักษร 16 Points โดยบรรทัดแรกให้ย่อหน้า (Tab) 0.5 นิ้ว และกำหนดรูปแบบข้อความให้กระจายแบบไทย บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ควรเกิน 200 คำ

8. คำสำคัญต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำว่าคำสำคัญและ Keywords ใช้ขนาดตัวอักษร 16 ตัวหนา และตามด้วยเครื่องหมายทวิภาค (Colon)

ตัวอย่าง คำสำคัญ:

9. คำสำคัญจะต้องมีทั้งหมด 3 คำ ใช้ขนาดตัวอักษร 16 Points และใช้เครื่องหมายจุลภาค (Comma) ในการคั่นแต่ละคำสำคัญ

10. เนื้อหาของบทความประกอบด้วย 1) บทนำ 2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3) วิธีดำเนินการวิจัย
4) ผลการวิจัย 5) สรุปและอภิปรายผลการวิจัย โดยทั้ง 5 หัวข้อ กำหนดชิดซ้าย ขนาดตัวอักษร 18 Points ตัวหนา โดยใช้การเขียนแบบพรรณนาในทุกหัวข้อ ยกเว้นวัตถุประสงค์ของการวิจัย ให้เขียนแสดงเป็นข้อ

11. เนื้อหาในแต่ละหัวข้อทั้ง 5 ใช้ตัวอักษร 16 Points และจัดรูปแบบกระจายแบบไทย โดยบรรทัดแรกของแต่ละย่อหน้าให้กำหนดย่อหน้า (Tab) 0.5 นิ้ว

12. เอกสารอ้างอิงให้ ใช้ระบบนามปี (Author date system) ในการเขียน โดยอิงรูปแบบของ (American Psychological Association: APA) ทั้งการอ้างอิงในเนื้อความ (In-text reference) และการอ้างอิงท้ายบทความ (Reference list) โดยสามารถดูรายละเอียดได้จาก www.APA.org

ตัวอย่าง

ภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์. (2554). เศรษฐมิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชัย จิตสุชน, และสุกัญญา หุตะเศรณี. (2531). Thailand's income distribution and poverty profile and their current   

              situations. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคม.

Todaro, M., & Smith, S. (2009). Economic development. (10th ed.). New York: Pearson.

เมธี ครองแก้ว, และปราณี ทินกร. (2528). สภาวะความยากจนและการกระจายรายได้ในประเทศไทย ปีที่ 2518/19 และ

              2524.วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 3(4), 54-99.

Adigun, G. T., Awoyemi, T. T., & Omonoma, B. T. (2011). Estimating economic growth and inequality elasticities of

               poverty in rural Nigeria. International Journal of Agricultural Economics and Rural Development, 4(1), 25-35.

Humphreys, M. (2000). A poverty focussed CGE model for South Africa. Retrieved

               November 15, 2013, from http://www.columbia.edu/~mh2245/papers1/cge.pdf.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2546). สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2552, จาก

                http://www.tdri.or.th/poverty/report1.hmt.

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์. (2557). การศึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจและการลดความยากจนของกลุ่มประเทศต่างๆทั่วโลก.
                 วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

13. สำหรับตารางและรูปภาพ ใช้คำว่า ตารางที่ 1: และภาพที่ 1: และตามด้วยชื่อของตารางและภาพ โดยใช้ขนาดตัวอักษร 16 Points ตัวหนา จัดชิดซ้าย

ตัวอย่าง ตารางที่ 1: อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2557 ภาพที่ 1: วงจรความยากจน

          สำหรับท้ายตารางและรูปภาพ ต้องบอกแหล่งที่มาของตารางและภาพ โดยใช้ขนาดตัวอักษร 14 Points ตัวหนา จัดชิดซ้าย เช่น ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (2557)

          ระยะห่างระหว่างชื่อตารางกับตาราง และระยะห่างระหว่างตารางกับที่มา กำหนดให้เป็น 0 Point

          สำหรับรูปแบบของตาราง ให้ใช้เส้นทึบ ขนาด 2.25 Points สำหรับเส้นขอบบน ขอบล่าง และขอบสำหรับหัวข้อที่แสดงในแถวแรก และจัดตารางให้พอดีกับกระดาษ สำหรับรูปแบบของภาพ ให้จัดกึ่งกลางของกระดาษ

ตัวอย่าง

ตารางที่ 1: ชื่อตาราง

[ตาราง จัดพอดีหน้าต่าง กำหนดเส้นขอบบน ขอบล่าง และขอบคั่นส่วนหัวข้อ มีความหนาของเส้นตารางเท่ากับ 2.25 พ.]

ที่มา: แหล่งที่มาของตาราง

หมายเหตุระบุหมายเหตุ

ภาพที่ 1: ชื่อภาพ

(จัดภาพกึ่งกลาง)

ที่มา: แหล่งที่มาของภาพ

 

การส่งบทความเพื่อพิจารณา

       ผู้เขียนสามารถส่งบทความได้จาก

1. ส่งบทความออนไลน์ได้จากเว็บไซต์วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง (www.ecojournal.ru.ac.th)

2. ส่งบทความทางไปรษณีย์ได้ที่

ฝ่ายวารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง

อาคารเศรษฐศาสตร์ 2 ห้อง 612 (ECB2 612) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240  

3. ส่งบทความทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทางอีเมล์

journaleconru@gmail.com

 

ขอขอบคุณท่านที่สนใจในวารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง

สำหรับรายละเอียดและข้อสงสัยเพิ่มเติมโปรดติดต่อ โทรศัพท์ 02-310-8000 ต่อ 4562 หรือ 089-266-9600 หรือโทรสาร 02-310-8511